Blog

โอเมก้า 3 จากพืช ทางเลือกสำหรับคนแพ้น้ำมันปลา

โอเมก้า 3 จากพืช ทางเลือกสำหรับคนแพ้น้ำมันปลา

โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารอื่นๆ เช่น ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่างๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น

การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ในปริมาณที่เหมาะสมกับเพศและช่วงวัยนับว่าส่งผลดีต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่างเพราะจะช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด การย่อยอาหาร การมีบุตร และการเจริญเติบโต ซึ่งได้จากการบริโภคอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโอเมก้า 3 โดยทั่วไปแล้ว อาหารเสริมโอเมก้า 3 จะมีกรดไขมันอีพีเอและกรดไขมันดีเอชเอที่พบได้ในน้ำมันปลา

ทั้งนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกน้ำมันปลา ผู้บริโภคมักต้องการประโยชน์หลักจากสารในกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Omega 3 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ อาการปวดข้อ การอักเสบและช่วยในด้านความจำ โดยเฉพาะ DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง และดวงตา ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในเด็กได้อีกด้วย

แต่การบริโภคน้ำมันปลานั้นถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องใส่ใจเช่นกัน ดังนั้น การศึกษาข้อมูลก่อนที่จะรับประทานจึงเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือเกิดอาการแพ้จากน้ำมันปลาได้

อาการแพ้น้ำมันปลา ผลข้างเคียง

  • ในรายที่มีการแพ้น้ำมันปลา อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน และอาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ ปวดท้อง และท้องเสีย แก้ไขได้โดยเริ่มรับประทานในปริมาณต่ำๆ ก่อน
  • เรอเป็นกลิ่นคาวปลา
  • ฝาดในปาก
  • เมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้มีกลิ่นคาวออกมาจากผิวหนัง
  • การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างการลดลง

ทางเลือกสำหรับคนที่แพ้น้ำมันปลา กินมังสวิรัติ หรือชาววีแกน

โคซานอล มัลติ แพลนท์ โอเมก้า 3 ออยล์
ด้วยโพลิโคชานอลสารสกัดจากไขอ้อย และโอเมก้า 3 จากพืช (น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อน,น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์,น้ำมันงา) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไขมันไม่ดี (LDL) และช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ช่วยลดระดับความดันเลือด ลดความข้นหนืดของเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยง ภาวะหลอดเลือดตีบ และตัน ลดการหนาตัวของผนังหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งตัว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอเมก้า 3 แต่ไม่สามารถรับประทานน้ำมันปลาได้

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *