Tags: โรคกระเพาะ

อาการปวดแบบไหน? แม้แต่กินยาพาราก็ช่วยไม่ได้!

อาการปวดแบบไหน? แม้แต่กินยาพาราก็ช่วยไม่ได้!

ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ หรือจะปวดฟัน ปวดน่อง ปวดที่แขน นึกอะไรไม่ออกก็ “กินยาพารา” เอาไว้ก่อน ราวกับว่าพาราเซตามอลเป็นยาครอบจักรวาลที่รักษาได้แทบทุกปวด! แต่ที่จริงแล้วเจ้ายาพาราก็ไม่ได้รักษาอาการปวดได้ทุกอย่างหรอก มาดูกันว่า ปวดแบบไหนที่ยาพาราช่วยไม่ได้กันบ้าง ปวดไมเกรนหนักๆ เกิน 2 ครั้ง / สัปดาห์ – ต้องกินยารักษาอาการไมเกรนเฉพาะ หรือถ้าปวดหนัก ต้องรีบไปพบแพทย์ดีกว่า ปวดจากกรดไหลย้อน หรืออาการจากโรคกระเพาะ – เกิดจากกรดเกินในกระเพาะ จึงต้องกินยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการ ปวดท้องเนื่องจากท้องเสีย ท้องร่วง – เกิดจากการบีบตัวของลำไส้ จึงต้องกินยาเฉพาะที่ลดการปวดเกร็งของช่องท้อง ปวดรอบๆ สะดือ หรือปวดแถวท้องน้อยด้านขวา – อาจเป็นอาการปวดจากการเป็นไส้ติ่งอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยด่วน ปวดแปล๊บเหมือนไฟช๊อต – อาจเป็นการจากระบบประสาท ควรพบแพทย์ดีกว่า นอกจากอาการเบื้องต้นแล้ว ยังมีอาการปวดแบบอื่นๆ ที่การกินยาพารานั้นอาจไม่ได้ผล เช่น ปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ๆ ปวดแสบปวดร้อนที่ผิว หรืออาการปวดที่หนักและรุนแรงมากๆ แบบนี้ต้องไปพบแพทย์ดีกว่าครับ ปล. ส่วนใครที่ชอบกินพาราดักไว้ก่อน มันดักไม่ได้นะค้าบบ มันไม่ใช่ยาป้องกันการมีไข้นะ […]

กรดไหลย้อนกำเริบ แพนิคถามหา! มารักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยสมุนไพรไทยกันดีกว่า

กรดไหลย้อนกำเริบ แพนิคถามหา! มารักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยสมุนไพรไทยกันดีกว่า

โรคกรดไหลย้อนเป็นภัยเงียบที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเราๆ ท่านๆ และมักมีอาการของโรคแพนิคแฝงอยู่ด้วย โดยสาเหตุหลักๆ ของโรคนี้ก็มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง โดยเฉพาะการกิน ใครที่เป็นจะมีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ หลังจากทานอาหารมื้อหนัก และมีอาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่พบมากได้แก่ ท้องอืด จุกแน่นและแสบร้อนบริเวณกลางอก จุกในลำคอเหมือนมีอะไรมาขวางคออยู่ ทำให้กินอาหารได้น้อย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร กินยาไม่หาย นอนไม่หลับ หาทางรักษาให้หายขาดไม่ได้ ก็เริ่มวิตกกังวล นานๆเข้าก็มีภาวะเครียดสะสม ท้ายสุดก็กลายเป็นโรคแพนิค ทั้งนี้พฤติกรรมการทานอาหาร และการดำเนินชีวิตมีผลทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน การรับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ได้อย่าง เหล้า เบียร์ กาแฟ ชา น้ำอัดลม อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง รวมทั้งการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก หรือไม่ควรรับประทานมึ้อดึก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ซึ่งปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคนี้ เช่น ยาเคลือบและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือ มีอาการแสบหน้าอกเป็นครั้งคราว อีกกลุ่มคือ ยาลดการหลั่งกรด ยาในกลุ่มนี้ต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดของยาที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งตัวยามักให้ผลการรักษาที่ดี แต่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานานกว่า การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารทั่วไป และเมื่อหยุดยาผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการกลับขึ้นมาใหม่ โดยกิฟฟารีน […]