Tags: โควิด 19

WHO ประกาศให้โควิดสายพันธุ์ใหม่ Eris เป็นสายพันธุ์ต้องสนใจ

WHO ประกาศให้โควิดสายพันธุ์ใหม่ Eris เป็นสายพันธุ์ต้องสนใจ

อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 สายพันธุ์ EG.5 หรือ “เอริส” (Eris) เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (VOI) หลังแพร่ระบาดมากขึ้นทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ EG.5 หรือที่มีชื่อเล่นว่า “เอริส” (Eris) เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (VOI) แม้ว่าความเสี่ยงด้านสาธารณสุขจะถูกตัดสินว่าต่ำก็ตาม แต่ขณะนี้พบการระบาดมากขึ้นทั่วโลก โควิด-19 สายพันธุ์เอริสนั้น มีความเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ย่อยของโควิด-19 โอมิครอน XBB.1.9.2 และมีหลายประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร จีน และสหรัฐฯ ที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการระบาดของมัน อย่างไรก็ตาม WHO แนะนำว่า สายพันธุ์นี้ไม่ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่รุนแรง “จากหลักฐานที่มีอยู่ ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขในระดับโลกที่เกิดจาก EG.5 ได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับต่ำ” พร้อมเสริมว่า ความเสี่ยงดังกล่าวดูเหมือนจะเท่ากับสายพันธุ์ VOI อื่น ๆ “ในขณะที่ EG.5 เริ่มชุกขึ้น มีความได้เปรียบในการเจริญเติบโต และมีคุณสมบัติการหลบหนีภูมิคุ้มกัน แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงในความรุนแรงของโรค” WHO กล่าวเสริม ด้าน […]

“ดาวดวงแก้ว” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดต่อง่าย แต่ไม่เพิ่มความรุนแรง

“ดาวดวงแก้ว” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ติดต่อง่าย แต่ไม่เพิ่มความรุนแรง

“หมอยง” เผย โควิด 19 ในไทยเปลี่ยนสายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว กำลังมาแรงแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ สายพันธุ์นี้ติดต่อได้ง่าย หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ระบุ โควิด 19 การเปลี่ยนสายพันธุ์ สายพันธุ์ดาวดวงแก้วกำลังมาแรง XBB.1.16 จากการศึกษาในประเทศไทยของศูนย์จะเห็นว่าตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ทุกครั้งที่มีสายพันธุ์ใหม่ก็จะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็นระลอก มาโดยตลอด จากรูปนี้ในการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 100 สายพันธุ์จะเห็นว่าสายพันธุ์หลักในประเทศไทยขณะนี้เป็น XBB แล้ว โดยที่สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 กำลังมาแรงและจะเป็นสายพันธุ์หลักต่อไป สายพันธุ์นี้ติดต่อได้ง่าย หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น เครดิต : เพจ Yong Poovorawan ขิงผลสำเร็จรูป ฟ้าทะลายโจรสกัด กระชายขาวสกัด

หมอยง เผยระวัง Covid เปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่ มีการระบาดเป็นระลอกเป็นแล้วเป็นซ้ำได้

หมอยง เผยระวัง Covid เปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่ มีการระบาดเป็นระลอกเป็นแล้วเป็นซ้ำได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เผยโควิด-19 เมื่อมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็นระลอกโดยตลอด เตือนผู้ที่เป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” เรื่องโควิด-19 โดยมีใจความว่า “โควิด-19 เมื่อมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ก็จะมีการระบาดเป็นระลอก “จากการศึกษาในประเทศไทยของศูนย์จะเห็นว่าตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 ทุกครั้งที่มีสายพันธุ์ใหม่ก็จะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็นระลอกมาโดยตลอด หลังจากเดือนตุลาคมปีที่แล้วไม่ได้มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยมีการรายงานเฉพาะจำนวนผู้ที่รับไว้ในโรงพยาบาล จากรูปที่แสดงให้เห็นว่าการระบาดในรอบนี้ เกิดจากมีการเปลี่ยนสายพันธุ์จาก BA.2.75 มาเป็น XBB.1.5 ทำให้มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสายพันธุ์ จะทำให้มีการหลบหลีกภูมิต้านทานและมีการติดง่ายขึ้น ผู้ที่เป็นแล้วก็สามารถเป็นซ้ำได้อีก ขณะนี้ในระลอกนี้ยังเป็นสายพันธุ์ XBB.1.5 หรือที่เรียกว่าสายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ Kraken กำลังรอดูอยู่ว่าสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (Arcturus) XBB.1.16 จะเข้ามาแทนที่ได้หรือไม่ ถ้าเข้ามาแทนที่ได้ก็จะเป็นอีกระลอกหนึ่ง” เครดิต : เพจ Yong Poovorawan ขิงผลสำเร็จรูป ฟ้าทะลายโจรสกัด กระชายขาวสกัด

คนไทยที่อยู่ในออสเตรเลียโพสต์ ติด COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ตา-โพรงจมูกอักเสบ!

คนไทยที่อยู่ในออสเตรเลียโพสต์ ติด COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ตา-โพรงจมูกอักเสบ!

“บันทึกโควิดสายพันธุ์ใหม่ Arcturus ไม่ได้มีการตรวจเชื้ออย่างเป็นทางการ (ตรวจเอทีเค) แต่คาดว่าโดนตัวนี้เพราะกำลังระบาดในออสเตรเลีย และสายพันธุ์นี้จะทำลาย soft tissue บริเวณใกล้เคียงที่ติดเชื้อ เช่น ตา และโพรงจมูก วัคซีนไฟเซอร์ 3 เข็มแทบไม่ช่วยอะไร หรือช่วยไม่ได้เลย อาการหนักเหมือนคนที่ติดแรกๆ สมัยยังไม่มีวัคซีน วันแรกรู้สึกแปลกๆ ในลำคอ แต่ตรวจ ATK ผลยังเป็นลบ วันที่ 2 รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว เลยตรวจอีกที ผลบวกแล้ว เลยรีบกักตัวเองทันที และจากนั้นไข้ขึ้นสูงตลอด ระยะเวลา 3 วัน โดยยาพาราสามารถลดไข้ได้เพียงไม่เกิน 2 ชม. ไข้จะกลับมาสูงปี้ดใหม่ ต้องนอนทนอยู่แบบนั้น โดยไม่สามารถขยับหรือช่วยเหลือตัวเองได้ เพราะไม่สามารถให้ใครเข้ามาช่วยเช็ดตัวลดไข้ได้ ต้องบอกว่า เป็นช่วงที่เหมือนจะขาดใจตายได้ตลอดเวลา โดยตั้งแต่วันที่ 2 เป็นต้นมา อาการไอแบบมีเสมหะสีเขียวข้น ขากออกมาเป็นก้อนๆ มีน้ำมูกสีเขียวข้นสั่งออกมาได้จำนวนมากทุกเช้า ถ้าเทียบปริมาณ ก็เหมือนได้เต็มถ้วยน้ำจิ้มขนาดพอเหมาะหรือประมาณ 1 กอบมือ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นชา ชาแบบรู้สึกว่ามันชา […]

หลังสงกรานต์คนติดโควิดเพิ่มขึ้น เผย XBB.1.16 หลบภูมิได้ดี!

หลังสงกรานต์คนติดโควิดเพิ่มขึ้น เผย XBB.1.16 หลบภูมิได้ดี!

กรมควบคุมโรคคาดหลัง “สงกรานต์” ผู้ติดเชื่้อโควิดเพิ่มขึ้นแน่ ยันเตียง ยา เพียงพอ ย้ำหลังเทศกาลสังเกตอาการ 7 วัน เลี้ยงใกล้ชิดสูงอายุ-โรคประจำตัว ศูนย์จีโนมเผย XBB.1.16 พบในไทยแล้ว 6 ราย ชี้เป็นม้ามืดมาแรง หลบภูมิได้ดี เจออาการเด่นเยื่อบุตาอักเสบในเด็ก เมื่อวันที่ 15 เม.ย. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์ ว่า เป็นไปตามคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้่ว่า ช่วงสงกรานต์จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเดินทาง จึงมีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อได้ เท่าที่รับรายงานตาม รพ.ก็มีเคสผู้ป่วยโควิดเข้ามารักษาเพิ่มขึ้น แต่อาการไม่รุนแรง เมื่อซักประวัติส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนมาแล้ว บางคนเคยติดเชื้อมาแล้ว ทำให้ยังมีภูมิคุ้มกันอาการจึงไม่หนัก อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าน่าจะเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นแน่นอน คาดว่าจะมากกว่าช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา “จากภาพข่าวผ่านสื่อต่างๆ จะเห็นผู้คนออกมาสนุกสนานร่วมกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์จำนวนมาก ใกล้ชิดผู้คนที่ไม่รู้จัก ขณะนี้ก็ผ่อนคลายมาตรการ ไม่ได้มีการตรวจเชื้อก่อนเข้าทำกิจกรรม เป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการติดเชื้อได้ แต่มองในแง่บวกคนที่ออกมาเล่นสงกรานต์ส่วนใหญ่เป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน น่าจะยังมีภูมิคุ้มกันที่ดี” นพ.โสภณกล่าว นพ.โสภณกล่าวว่า ข้อแนะนำหลังสงกรานต์ให้เฝ้าระวังสังเกตอาการตัวเองภายใน […]

7 โรคที่ควรฉีดวัคซีน Covid-19

7 โรคที่ควรฉีดวัคซีน Covid-19

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกลุ่มโรคดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 เนื่องจากกลุ่มโรคเหล่านี้เป็นกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆ สะสมอาการ ค่อยๆ ทวีความรุนแรง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วจะเกิดโรคเรื้อรังตามมา หากไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ซึ่งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ หากติดเชื้อ Covid-19 จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าปกติ โดยผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีน Covid-19 มีดังนี้ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ข้อควรปฏิบัติ วันเข้ารับวัคซีน Covid-19 เพื่อให้การรับวัคซีนได้ประสิทธิภาพที่สุด และเพื่อป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นควรเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับการฉีดวัคซีนดังนี้ ไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลา อย่างน้อย 30 นาที เตรียมเอกสาร ข้อมูลที่ใช้ในการเข้าฉีดวัคซีนให้พร้อม ตรวจวัดอุณหภูมิ […]

หมอยง ชี้ Covid-19 เข้าสู่ภาวะสงบแล้ว ความรุนแรงลดลง

หมอยง ชี้ Covid-19 เข้าสู่ภาวะสงบแล้ว ความรุนแรงลดลง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊กชี้โควิด-19 เข้าสู่ภาวะสงบแล้วตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจทั่วไปที่เกิดจากไวรัส ชี้อาจเจออีกครั้งช่วงเดือนมิถุนายน แต่ความรุนแรงก็จะลดลงไปเรื่อยๆ วันนี้ (1 มี.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ในประเด็น โรคเข้าสู่ภาวะสงบ โดยได้ระบุข้อความว่า “ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ต้นปีนี้ เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้วโรคก็จะเข้าสู่ภาวะสงบ ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจทั่วไปที่เกิดจากไวรัส โควิด-19 ก็เช่นเดียวกัน เพราะติดเชื้อไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว มาจนถึงปัจจุบันน่าจะถึง 80% ไปแล้ว รวมกับฉีดวัคซีนจึงมีภูมิต้านทานที่สมบูรณ์แบบมากกว่าวัคซีนอย่างเดียว นักท่องเที่ยวเข้ามาตั้งแต่ต้นปี ก็ไม่ทำให้โรคระบาดเพิ่มขึ้น ตามที่เคยได้อธิบายไปแล้ว โรคนี้จะไปเริ่มพบจำนวนมากขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ภาพรวมของภูมิต้านทานเริ่มลดลง และเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ในเดือนมิถุนายนก็จะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะนักเรียน แต่ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มที่จะลดลงโดยตลอด และทุกอย่างจะอยู่ในภาวะสมดุลโดยอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับไวรัสโควิด-19 ที่เป็นโรคทางเดินหายใจ ที่เป็นโรคประจำฤดูกาล การต่อสู้ที่ผ่านมาเราพยายามใช้หลักสมดุล ยืดเวลามาตามความเหมาะสมจนถึงปัจจุบัน”   ที่มา : mgronline

หมอยงง เผย ระวัง Covid สองสายพันธุ์ หลบหนีเก่ง-ติดเชื้อซ้ำ!

หมอยงง เผย ระวัง Covid สองสายพันธุ์ หลบหนีเก่ง-ติดเชื้อซ้ำ!

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ออกมาแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับโควิด-19 ในสายพันธุ์ที่ต้องติดตาม ได้แก่ สายพันธุ์คราเคน (Kraken) และสายพันธุ์ออร์ธรัส (Orthrus) ชี้ความอันตรายคือหลบหนี ระบบภูมิต้านทานที่เรามีอยู่ และจะทำให้ติดเชื้อซ้ำได้ วันนี้ (8 ก.พ.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ในประเด็น โควิด-19 สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม โดยได้ระบุข้อความว่า “เชื้อไวรัสก่อโรคโควิดมีการกลายพันธุ์มาตลอด เพื่อหลบหลีกระบบภูมิต้านทานของร่างกาย จึงทำให้เป็นแล้วเป็นอีกได้ แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น สายพันธุ์ที่เฝ้าจับตามองและถือว่าเป็นสายพันธุ์อันตราย เพราะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี คือสายพันธุ์ที่มีการเรียกกันว่า คราเคน และออร์ธรัส คราเคน คือสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่พบมากในอเมริกาและยุโรปขณะนี้ หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี และมีโอกาสที่จะเป็นสายพันธุ์หลักต่อไปได้ มีการตั้งชื่อว่า คราเคน (Kraken) เป็นชื่อของสัตว์ทะเลประหลาด ในตำนาน นิยายที่มีการเล่ากันมาในยุโรปกว่า 300 ปีมาแล้ว ลักษณะเหมือนปลาหมึกยักษ์ คอยจมเรือ การเรียกสายพันธุ์โควิดนี้ทำให้มองดูเข้าใจได้ว่าสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์อันตรายที่ต้องติดตาม ออร์ธรัส (Orthrus) […]