กิฟฟารีน อาหารเสริมบำรุงร่างกายสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ที่ต้องการมีบุตร
“ภาวะมีบุตรยาก” คืออะไร ?
ตรงๆ ตัวเลยคือการที่คู่สามี-ภรรยาไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีลูกได้ สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายชาย (ประมาณ 25%) หรือฝ่ายหญิง (40%) หรือเกิดจากทั้งสองฝ่าย (20%) และภาวะการมีบุตรยากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายที่มีภาวะเป็นหมันก็เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการมีบุตรจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยสามารถแบ่งภาวะมีบุตรยากได้เป็น 2 ประเภทคือ ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ (Primary Infertility) คือคู่สมคสที่มีบุตรยากโดยยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน และชนิดทุติยภูมิ (Secondary Infertility) คือคู่สมควรที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
พฤติกรรมและ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อเตรียมพร้อมในการมีบุตร
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ของทอด ขนมขบเคี้ยว เบเกอรี่ และขนมอบกรอบ รวมถึงเลือกน้ำมันดี ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันรำข้าว เนื่องจากอาหารไขมันสูงเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล การตกไข่ไม่ปกติ จึงทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้น
- เลือกรับประทาน ถั่วและธัญพืช เพื่อเพิ่มโปรตีนที่ดี รวมถึงธาตุเหล็ก การรับประทานโปรตีนร่วมกับธาตุเหล็กจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก อีกทั้งยังช่วยผลิตไข่ที่มีคุณภาพด้วย
- รับประทานผักใบเขียว เพื่อเพิ่มโฟเลตและวิตามินบี ช่วยเร่งการตกไข่ ส่งผลให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: “PGS” เทคโนโลยีใหม่ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงแท้ง)
- ลดน้ำตาลและแป้งขัดขาว เพื่อความคุมระบบน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
- ดื่มนมและโยเกิร์ต เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะกระดูกพรุน
- ลดปริมาณการดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม ควรเลือกดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอแทน
- งดแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากทั้งแอลกอฮอล์และบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่เป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกให้คุณได้
- หอยนางรม อุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสี ช่วยกระตุ้นการผลิตไข่ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะหากรับประทานในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนวันไข่ตก
- ผักโขม มีโฟเลตสูง ซึ่งโฟเลตมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์พิการ รวมถึงช่วยกระตุ้นร่างกายให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานผักใบเขียวเป็นประจำ จะช่วยให้ได้รับเส้นใยอาหารอย่างเพียงพอ ลดปัญหาการขับถ่ายที่ผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้
- อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีไขมันดีสูง ซึ่งเป็นกลุ่มไขมันที่ร่างกายต้องการและมีประโยชน์ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ โรคพันธุกรรมป้องกันได้)
- กล้วยหอม เป็นแหล่งของโพแทสเซียมและวิตามินบี 6 ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
- หน่อไม้ฝรั่ง มีไนอะซิน หรือวิตามินบี 3 ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- แซลมอน มีโปรตีนสูง เพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุลและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์
- เมล็ดฟักทอง มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งเป็นธาตุเหล็กจากพืช จึงดูดซึมได้ดีกว่าธาตุเหล็กจากสัตว์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก
- นมสด เป็นแหล่งของแคลเซียม เหมาะสำหรับคนที่ไข่ตกได้ยาก โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ผอมหรือมีน้ำหนักน้อย
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญพันธุ์อีกด้วย
และ วิตามินสำคัญต่อการตั้งครรภ์
- กรดโฟลิก วิตามินที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ แนะนำอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ โดยควรรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มเฉลี่ยวันละ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ล่วงหน้าประมาณ 1-3 เดือน เพื่อช่วยป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจางที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อตั้งครรภ์
- วิตามินซี ช่วยลดภาวะเลือดออกตามไรฟัน ป้องกันโรคหวัด
- สังกะสี ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ไข่ที่ผลิตออกมาจากรังไข่มีคุณภาพ
- วิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
- ธาตุเหล็ก ลดภาวะโลหิตจาง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมสำหรับการมีบุตร
- วิตามินบี 12 มีส่วนในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง และมีส่วนช่วยทางด้านสุขภาพและความรู้สึกทางเพศ
- วิตามินบี 3 เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น
ชุดเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ที่อยากเป็นคุณพ่อ ฟิตร่างกายให้แข่งแรง.